ไม้ล้มลุก

ความหมายของไม้ล้มลุก
ไม้ล้มลุก มีลำต้นเป็นไม้เนื้ออ่อนไม่มีเนื้อไม้ หรือมีเนื้อไม้เล็กน้อยบริเวณโคนต้น แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ ไม้ล้มลุกปีเดียว (annual herb) เป็นพืชอายุไม่เกิน 1 ปี เมื่อออกดอกออกผลแล้วจะตาย เช่น ดาวเรือง บานชื่น หงอนไก่ ทานตะวัน ไม้ล้มลุกข้ามปี (biennial herb) เป็นพืชที่มีอายุ 2 ปี โดยปีแรกจะเจริญเติบโตทางลำต้นและใบ แล้วออกดอกออกผลในปีที่ 2 จึงจะตาย เช่น กล้วยประดับ ผักกาดแดง ไม้ล้มลุกหลายปี (perennial herb) เป็นพืชล้มลุกที่มีอายุมากกว่า 2 ปี และออกดอกออกผลทุกปี เช่น บัวบานเช้า พลับพลึง พุทธรักษา

สรุปลักษณะและข้อมูลพรรณไม้

ลักษณะวิสัย

ข่า

ชื่อพันธุ์ไม้ : ข่า
รหัสพรรณไม้ : 7-50150-005-027/05
ชื่อพื้นเมือง : ข่า (ภาคเหนือ เชียงใหม่), ข่า (ภาคกลาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Alpinia galanga L.Willd.
ชื่อวงศ์ : ZINGIBERACEAE
ชื่อสามัญ : Galanga
ประโยชน์ : เหง้า ใช้ประกอบอาหาร เช่น ต้มข่าไก่ ต้มยำ เหง้าสดนำมาตำทาแก้กลากเกลื้อน

ไม้ล้มลุก สูง 0.8 เมตร ทรงพุ่มรูปทรงกระบอก กว้าง 0.4 เมตร ลำต้นใต้ดิน เป็นเหง้า เปลือกลำต้นสีเขียวเข้มผิวเรียบ ไม่มียาง ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปใบหอก กว้าง 8 เซนติเมตร ยาว 40 เซนติเมตร ปลายใบมน โคนใบรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ ดอกช่อกระจะ ออกดอกปลายยอด กลีบเลี้ยงแยกจากกัน 3 กลีบ สีขาว กลีบดอกแยกจากกัน 5 กลีบ สีขาว เกสรเพศเมีย 1 อัน สีเหลือง รังไข่ใต้วงกลีบ กลิ่นฉุน ผลเดี่ยว ผลสดเมล็ดเดียวแข็ง ผลอ่อนสีไข่ปนเหลือง ผลแก่สีน้ำตาล รูปร่างผลแบบเหง้าเหง้าอ่อน ใช้ประกอบอาหาร เช่น ต้มยำ แกงไก่ มีสรรพคุณ บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และขับลม เหง้าแก่ทารักษาโรคผิวที่เกิดจากเชื้อรา กลากเกลื้อน

ลักษณะวิสัย

มะเขือเปราะ

ชื่อพันธุ์ไม้ : มะเขือเปราะ
รหัสพรรณไม้ : 7-50150-005-028/07
ชื่อพื้นเมือง : บะเขือ (ภาคเหนือ เชียงใหม่), มะเขือเปราะ(ภาคกลาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Solanum aculeatissimum Jacq.
ชื่อวงศ์ : SOLANACEAE
ชื่อสามัญ : Cockroach berriy
ประโยชน์ : ผลสดรับประทานกับน้ำพริก และทำยำผักรวม

ไม้ล้มลุก สูง 0.8 เมตร ทรงพุ่มรูปร่ม กว้าง 0.7 เมตร เปลือกลำต้นสีเขียวแตกเป็นสะเก็ดมีขน ไม่มียาง ใบเดี่ยว ขนาดใหญ่ เรียงสลับ รูปรี กว้าง 7.5 เซนติเมตร ยาว 15 เซนติเมตร สีเขียว ปลายใบแหลม โคนใบเบี้ยว ขอบใบเป็นคลื่น ดอกเดี่ยว ออกดอกตามลำต้นหรือกิ่ง สีม่วง กลีบเลี้ยง 5 แฉก โคนเชื่อมติดกันปลายแยก สีเขียว กลีบดอก 5 แฉกโคนเชื่อมตืดกัน กลีบดอกรูปกงล้อ เกสรเพศผู้ สีเหลือง 5 อัน เกสรเพศเมีย สีขาว 1 อัน รังไข่เหนือวงกลับ ไม่มีกลิ่น ผลเดี่ยว ผลสด มีเนื้อหนึ่งถึงหลายเมล็ด ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีเหลือง รูปร่างผลกลม เมล็ดอ่อนสีขาว แก่สีน้ำตาล รูปร่างเมล็ดกลม ผลอ่อน ใช้รับประทานกับน้ำพริก ผลแก่ นำไปทำยำผักรวม

ลักษณะวิสัย

พริก

ชื่อพันธุ์ไม้ : พริก
รหัสพรรณไม้ : 7-50150-005-032/111
ชื่อพื้นเมือง : พริก (ภาคเหนือ เชียงใหม่), พริก (ภาคกลาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Capsicum frutescens L. fasciculatum Baill.
ชื่อวงศ์ : SOLANACEAE
ชื่อสามัญ : Cluster Pepper
ประโยชน์ : ใบนำมาประกอบอาหาร เช่น แกงแค

ไม้พุ่ม สูง 0.75 เมตร ทรงพุ่มรูปร่ม กว้าง 0.4 เมตร ลำต้นเหนือดิน ตั้งตรงเองได้ เปลือกลำต้นสีเขียว ผิวเรียบ ไม่มียาง ใบเดี่ยว เรียงสลับรูปใบหอก กว้าง 3 เซนติเมตร ยาว 5 – 6 เซนติเมตร สีเขียว ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบเรียว ขอบใบเรียบ ดอกเดี่ยว ออกดอกซอกใบ กลีบเลี้ยงสีเขียว แยกจากกัน 5 กลีบ กลีบดอกสีขาว แยกจากกัน 5 กลีบ กลีบดอกรูปดาว รังไข่เหนือวงกลีบ ไม่มีกลิ่น เกสรเพศผู้ 5 อัน สีเขียว เกสรเพศเมีย 1 อัน สีขาว ไม่มีกลิ่น ผลสด ผลมีเนื้อหนึ่งถึงหลายเมล็ด ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีแดง รูปร่างผลเรียวยาว จำนวนเมล็ด 15 เมล็ด สีไข่ รูปร่างเมล็ด กลมแบน ผลสดใช้ในการปรุงอาหาร ผลแห้งนำมาไล่มอดในข้าวได้ ใช้ประกอบพิธีกรรมต่างๆ

ลักษณะวิสัย

ขมิ้นชัน

ชื่อพันธุ์ไม้ : ขมิ้นชัน
รหัสพรรณไม้ : 7-50150-005-033
ชื่อพื้นเมือง : ขมิ้นชัน (ภาคเหนือ เชียงใหม่), ขมิ้นชัน (ภาคกลาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma longa L.
ชื่อวงศ์ : ZINGIBERACEAE
ชื่อสามัญ : Turmeric
ประโยชน์ : เหง้าใส่แกงไก่ เพื่อดับกลิ่นคาว เหง้าสดฝนทาแก้ผื่นคันเช่นแกงใส่ปลาแห้ง

ไม้ล้มลุก สูง1 เมตร ทรงพุ่มรูปไข่ กว้าง 0.4 เมตร เปลือกลำต้นสีเขียว ไม่มียาง ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงเวียน รูปใบหอก กว้าง 12-15 เซนติเมตร ยาว 30-40 เซนติเมตร สีเขียว ปลายใบแหลม โคนใบสอบเรียว ขอบใบเรียบ ดอกช่อย่อยออกดอกตามลำต้นหรือกิ่ง สีเหลืองอ่อน เหง้าใช้ประกอบอาหาร เช่น แกงไก่ ใช้ทาแก้ผดผื่น วิงเวียนศีรษะ ท้องร่วง

ลักษณะวิสัย

ไอริสน้า

ชื่อพันธุ์ไม้ : ไอริสน้ำ
รหัสพรรณไม้ : 7-50150-005-038/150
ชื่อพื้นเมือง : ไอริสน้ำ (ภาคเหนือ เชียงใหม่), ไอริสเหลือง (ภาคกลาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Trimezia martinicensis (Jacq.) Herb.
ชื่อวงศ์ : IRIDACEAE
ชื่อสามัญ : Yellow Walking Iris
ประโยชน์ : ปลูกเป็นไม้ประดับ

ไม้ล้มลุก สูง 1 เมตร ทรงพุ่มรูปร่ม กว้าง 0.80 เมตร ลำต้นเหนือดิน ตั้งตรงเองได้ สีเขียว ไม่มียาง ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปแถบ กว้าง 4 เซนติเมตร ยาว 60 เซนติเมตร สีเขียว ปลายใบแหลม โคนใบรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ ดอกเดี่ยว ออกดอกปลายยอด กลีบเลี้ยงสีเขียว แยกออกจาก กลีบดอกสีเหลือง แยกออกจากกัน 5 กลีบ กลีบดอกรูปดอกถั่ว เกสรเพศผู้ 5 อัน สีเหลือง เกสรเพศ 1 อัน สีเหลือง มีกลิ่นหอม ปลูกเป็นไม้ประดับ

ลักษณะวิสัย

กล้วย

ชื่อพันธุ์ไม้ : กล้วย
รหัสพรรณไม้ : 7-50150-005-040/53
ชื่อพื้นเมือง : กล้วยอ่อง มะลิอ่อง (ภาคเหนือ เชียงใหม่), กล้วยน้ำว้า (ภาคกลาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa sapientum L.
ชื่อวงศ์ : MUSACEAE
ชื่อสามัญ : Banana, Cultivated Banana
ประโยชน์ : ลำต้นใช้เลี้ยงสัตว์ ใบใช้ห่ออาหาร ทำขนมไทย ผลรับประทาน

ไม้ล้มลุก สูง 4.50 เมตร ทรงพุ่มรูปร่ม กว้าง 3 เมตร ลำต้นเหนือดิน ตั้งตรงเองได้เปลือกลำต้นลายเขียวสลับดำ ผิวเรียบ มียางสีขาวใส ใบเดี่ยวเรียงแบบสลับ รูปขอบขนาน กว้าง 50 เซนติเมตร ยาว 170 เซนติเมตร สีเขียวแก่ แผ่นใบเรียวยาวและวาวมัน ปลายใบเว้าบุ๋ม โคนใบรูปเงี่ยงลูกศร ขอบใบเรียบ ดอกเดี่ยว ออกดอกปลายยอด กลีบเลี้ยงสีขาวอมเหลือง แยกออกจากกัน 2 กลีบ กลีบดอกสีม่วงแกมแดงโคนเชื่อมตืดกัน ปลายแยก 4 แฉก กลีบดอกเป็นหลอด เกสรเพศผู้ จำนวน 1 อัน สีม่วง เกสรเพศเมีย จำนวน 16 อัน สีขาวอมเหลือง รังไข่ใต้วงกลีบ ผลสดผล มีเนื้อหนึ่งถึงหลายเมล็ด ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีเหลือง ผลรูปเคียว จำนวนเมล็ดหลายเมล็ด เมล็ดรูปร่างกลม ใบใช้ห่ออาหาร ลำต้นและผลนำมาเป็นอาหาร

ลักษณะวิสัย

ฟ้าทลายโจร

ชื่อพันธุ์ไม้ : ฟ้าทลายโจร
รหัสพรรณไม้ : 7-50150-005-041/71
ชื่อพื้นเมือง : ฟ้าทะลายโจร (ภาคเหนือ เชียงใหม่), ฟ้าทะลายโจร (ภาคกลาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Andrographis paniculata (Burm.f.) Wall. ex Nees
ชื่อวงศ์ : ACANTHACEAE
ชื่อสามัญ : –
ประโยชน์ : ใบสดมีสรรพคุณเป็นยาลดไข้

ไม้พุ่ม สูง 0.26 เมตร ทรงพุ่มรูปไข่ กว้าง 0.23 เมตร ลำต้นเหนือดิน ตั้งตรงเองได้ เปลือกลำต้นสีเขียว ผิวเรียบ ไม่มียาง ใบเดี่ยว เรียงแบบตรงข้าม รูปใบรี กว้าง 25 เซนติเมตร ยาว 10 เซนติเมตร สีเขียวเข้ม ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบเรียว ขอบใบเรียบ ดอกเดี่ยว ออกดอกปลายยอด กลีบดอก สีขาวอมม่วง โคนเชื่อมติดกัน ปลายแยก 5 แฉก กลีบดอกรูปปากเปิด เกสรเพศผู้ 1 อัน สีม่วง เกสรเพศเมีย 1 อัน รังไข่เหนือวงกลีบ ไม่มีกลิ่น ผลกลุ่ม ผลแห้งแก่แล้วแตก ฝักแบบถั่ว ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีน้ำตาล รูปร่างผลยาวรี เมล็ดสีเหลืองอ่อน รูปร่างกลม ใบนำไปใช้ประกอบอาหาร เช่น ใส่แกงไก่ ต้มขม และเป็นยารักษาโรค

ลักษณะวิสัย

พุทธรักษา

ชื่อพันธุ์ไม้ : พุทธรักษา
รหัสพรรณไม้ : 7-50150-005-042/02
ชื่อพื้นเมือง : พุทธรักษา (ภาคเหนือ เชียงใหม่), พุทธรักษา (ภาคกลาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Canna indica L.
ชื่อวงศ์ : CANACEAE
ชื่อสามัญ : Indian shot
ประโยชน์ : ปลูกเป็นไม้ประดับ

ไม้ล้มลุก สูง 1 เมตร ทรงพุ่มรูปกรวย กว้าง 0.7 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปหอก กว้าง 25 เซนติเมตร ยาว 50 เซนติเมตร โคนใบเป็นกาบหุ้ม ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบเรียบ สีเขียว แผ่นใบมีขนาดใหญ่ ดอกช่อ ช่อดอกย่อย สีแดง ออกดอกปลายยอด กลีบเลี้ยง 3 กลีบ กลีบดอก 3 กลีบ ผลกลุ่มแก่แล้วแตก เมล็ดแก่สีดำ รูปร่างเมล็ดกลม ปลูกเป็นไม้ประดับตกแต่งอาคารบ้านเรือน ปลูกเป็นแนวรั้ว ให้ร่มเงา